[บทสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่ตามหาฝัน] ผู้ใหญ่ที่ตามหาฝันในเดือนนี้คือ ตัวแทนฮานามารุลาโบะ คุณคาวาชิมะ เคอิ (32ปี)

งานของคุณคาวาชิมะคือ “ครูสอนโรงเรียนกวดวิชา” และ “ประธานบริษัท”

160122_k_portrait-copy-e1497947322963-266x300

คุณคาวาชิมะ เคอิ (32ปี) กรรมการบริหารบริษัท ฮานามารุ ลาโบะ จำกัด (มหาชน) สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจากโรงเรียนเอโค สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว และ ปริณญาโทในสาขาและมหาวิทยาลัยเดียวกัน
ในปี 2014 ได้ก่อตั้งบริษัท ฮานามารุ ลาโบะ จำกัด (มหาชน) ภายใต้องค์กรการพัฒนาด้านการศึกษา อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยโตเกียว และผู้รับผิดชอบในการวิเคราะห์และคิดค้นคำถามการคำนวนในการแข่งขันคณิตศาสตร์โอลิมปิก

nico-chan1

ผู้ถาม : นิโกะ

[Think!Think!]  สื่อการสอนดิจิตอล ที่สามารถสนุกไปพร้อมๆ กับปลูกฝังความมั่นใจให้ตัวเอง คืออะไร

หลังจากที่เรียนจบจากมหาวิทยาลัยโตเกียว คุณคาวาชิมะทำงานเป็นครูสอนโรงเรียนกวดวิชาฮานามารุ ซึ่งบริหารงานโดยบริษัทโคยู หลังจากที่สะสมประสบการณ์มาเป็นเวลานาน ทางบริษัทก็ได้สนับสนุนทุนในการก่อตั้งบริษัท ฮานามารุ ลาโบะขึ้น จึงเกิดความคิดที่ว่า อยากให้เด็กๆ ที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน จึงพัฒนาสื่อการสอนดิจิตอล [Think!Think!]  สื่อการสอนดิจิตอลที่สามารถสนุกไปพร้อมๆ กับปลูกฝังความมั่นใจให้ตัวเอง สื่อการสอนดิจิตอล [Think!Think!] คืออะไร เราลองไปถามคุณคาวาชิมะกันดีกว่า

สัมภาษณ์ เดือนพฤษภาคม 2017

DSC_0166-copy

นิโกะ : คุณคาวาชิมะ เคอิ ครับ คุณได้คิดค้นสื่อการสอนดิจิตอล หรือแอพพลิเคชั่น Think!Think! ขึ้นมาเพื่อใช้สอนในโรงเรียนกวดวิชาใช่มั้ยครับ ช่วยบอกได้มั้ยครับว่ามันเป็นแอพเกี่ยวกับอะไร

เคอิ : Think!Think! เป็นแอพเรียนหนังสือที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนหรือแทบแลตทั่วไปครับ ในแอพจะมีคำถามมากกว่า 4,000 คำถาม แถมยังโหลดฟรีอีกด้วยนะครับ

นิโกะ : ฟรีหรอ? งั้นผมก็ใช้ได้ด้วยสิ! สุดยอดเลย

เคอิ : ใช่ครับ ที่ผมคิดแอพนี้ขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเด็กที่ชอบและขยันเรียนเท่านั้นนะครับ แต่ผมอยากให้เด็กที่ไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือหรือเด็กหัวช้าได้สนุกไปกับการเรียนด้วยครับ ในตอนแรกแอพนี้เป็นเเอพที่จ่ายเงินซื้อครับ ราคาอยู่ที่ 1,600 เยน แต่ผมอยากให้เด็กทั่วโลกได้ใช้ แอพนี้จึงเปลี่ยนเป็นแอพฟรีครับ

นิโกะ : อย่างนี้นี่เอง แล้วตอนนี้มีจำนวนผู้ดาวน์โหลดประมาณกี่คนเหรอครับ

เคอิ : ผมได้ทำการเปลี่ยนเป็นแอพฟรีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ตั้งแต่นั้นมา 2 เดือนนิดๆ ก็มียอดคนดาวน์โหลด 5 หมื่นคนแล้วครับ

mondai_img_1

นิโกะ : 5 หมื่นคน! เด็กๆ ใช้กันเยอะเลยทีเดียวกับครับเนี่ย

เคอิ : พอได้ลองใช้แอพ Think!Think! จะรู้สึกเหมือนไม่ได้เรียนหนังสือเลยครับ เมื่อวันก่อนผมให้เด็กๆ ฟิลิปปินส์ได้ทดลองเล่นแอพนี้ “เอาล่ะ มาลองทำกัน” เด็กๆ ก็เริ่มเรียนรู้ได้เองอย่างอิสระ พอไขปริศนาได้ก็ดีใจกันใหญ่ แล้วก็รีบทำข้อต่อไปเลย ซึ่งต่างจากการเรียนในหนังสือโดยสิ้นเชิง

นิโกะ : คุณเคอิเป็นคนทำแอพนี้คนเดียวเลยหรอครับ

เคอิ : คนในทีมทุกคนช่วยกันทำครับ ผมก่อตั้งบริษัทฮานามารุลาโบะขึ้นเพื่อคิดค้นแอพนี้โดยเฉพาะเลยครับ ตอนนี้ที่บริษัทมีพนักงานประจำ 12 คน และพนักงานพาร์ทไทม์อีก 50 คน ในจำนวนพนักงานพาร์ทไทม์ทั้งหมดแบ่งออกเป็นทีมสร้างและคิดค้นคำถามครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งจะเป็นทีมพัฒนาโปรแกรมครับ เด็กพาร์ทไทม์ของเราส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียว ตรงนี้จึงเป็นจุดแข็งของแอพ เพราะว่าคนที่สร้างและคิดค้นคำถามนั้นคือนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยโตเกียวครับ

นิโกะ : โอ้โห ยอดเยี่ยมไปเลยครับ คุณเคอิอยากทำงานแบบนี้ตั้งแต่เด็กๆ เลยหรือเปล่าครับ

เคอิ : จริงๆ แล้วไม่เคยคิดมาก่อนเลยครับ ตอนเด็กๆ ช่วงประมาณประถมอยากเป็นนักฟุตบอล แต่ตอน ป.5 เห็นคนที่เล่นเก่งกว่าเรา ก็เริ่มคิดว่าเราอาจจะเหมาะกับอย่างมากกว่า ช่วงนั้นผมมีรุ่นพี่คนนึงที่เรียนโรงเรียนเดียวกันเป็นไอดอล ผมเลยเลือกที่จะสอบเข้าโรงเรียนมัธยมเอง แล้วค่อยบอกพ่อแม่ ช่วงมัธยมต้นก็ยังเล่นฟุตบอลอยู่ครับ แต่ก็เทียบไม่ได้เลยกับคนที่เล่นเก่งๆ ไหนๆ เราก็เลือกที่จะเรียนแล้ว ก็เลยตั้งเป้าหมายว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยโตเกียวครับ

DSC_0007-copy

นิโกะ : หมายความว่าการเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโตเกียวคือจุดประสงค์หลักเลยสินะครับ

เคอิ : จะว่าาอย่างนั้นก็ได้ครับ พอเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยก็รู้สึกว่าอยากทำงานในสถานีโทรทัศน์ เพราะคิดว่าถ้าทำงานที่นี่ สาวๆ ก็อาจจะชอบ (หัวเราะ) แต่เมื่อได้เข้าไปฝึกงานที่สถานีโทรทัศน์ฟูจิเทเลบิ ต้องมีการวางแผนเเละคิดไอเดียต่างๆ ซึ่งในตอนนั้นคิดไอเดียที่น่าสนใจไม่ออกเลย ในช่วงที่กำลังหางานอื่นที่เหมาะกับตัวเอง ผมก็ได้เข้าไปทำงานพาร์ทไทม์ที่โรงเรียนกวดวิชาฮานามารุ คอยช่วยคุณทาคาฮามะ หลังจากที่เข้ามาทำที่นี่ ไอเดียด้านการพัฒนาเด็กๆ ว่าทำอย่างไรให้เด็กได้พัฒนาและก้าวหน้าขึ้นนั้นก็หลั่งไหลเข้ามา และในตอนนั้นก็คิดได้ว่า เราน่าจะทำประโยชน์ให้กับการศึกษาได้

นิโกะ : อ๋อ ก็เลยเป็นคุณครูสอนโรงเรียนกวดวิชาสินะครับ

เคอิ : แต่เมื่อผมได้มีโอกาสไปสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า หรือไปประเทศในแถบเอเชียเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา มันทำให้ผมรู้สึกว่าอยากให้เด็กๆ เหล่านี้ได้รับการเรียนการสอนที่ดี ผมจึงตัดสินใจยื่นข้อเสนอให้ใช้สื่อไอทีในการพัฒนาการเรียนการสอนกับคุณทาคาฮามะ และนี่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดครับ

นิโกะ : ว้าว  หลังจากที่ได้เป็นครูสอนโรงเรียนกวดวิชา คุณเคอิก็ยังคงคิดและลองทำสิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาสินะครับ

เคอิ : ที่ผมตั้งเป้าหมายไว้ในตอนนี้คือ ภายในปี 2020 มียอดดาวน์โหลดแอพให้ 10 ล้านคน และ 90% ของผู้ดาวน์โหลดอยากให้เป็นเด็กต่างประเทศครับ และอยากให้แอพนี้กลายเป็นสิ่งใกล้ตัวเด็กๆ เหมือนกับยูทูปครับ

DSC_0218-copy

แอพ Think!Think! ที่คุณคาวาชิมะคิดขึ้นนั้นใช้การสอนแบบไหนกันนะ

พื้นฐานการเรียนรู้ของเด็กคือ “การจินตนาการภาพหรือเหตุการณ์ต่างๆ และคิดหาวิธีแก้ไข้ปัญหานั้นๆ” คุณคาวาชิมะเรียกพื้นฐานนี้ว่า “ความสามารถในการคิด” Think!Think! จึงถูกออกแบบมาเพื่อให้เด็กได้ฝึกความสามารถในการคิด

สิ่งที่ให้ความสำคัญมากที่สุดก็คือ การเรียนให้สนุกเหมือนการเล่น ถ้าจะให้อธิบายความสามารถในการคิด แบบง่ายๆ ก็คือการคิดถึงภาพหรือสิ่งของต่างๆ ได้อย่างอิสระนั่นเอง

คำถามที่เด็กมหาวิทยาลัยโตเกียวคิดขึ้นมากกว่า 5 พันคำถามนั้น เพียงฝึกทำแค่วันละ 10 นาที ก็เห็นผลได้อย่างชัดเจน ในแต่ละคำถามจะเเบ่งตามระดับของผู้ใช้ แม้จะมีเวลาไม่มากในการใช้แอพ แต่เด็กๆ ก็สามารถฝึกสมาธิได้ทุกทีทุกเวลาเลย

obi_tablet@2x-300x172

แอพ Think!Think! ได้รับรางวัล Google Play Awards เป็นเเอพสำหรับเด็กที่ดีที่สุดในปี 2017

mondai_img_2

mondai_img_3

WEBSITE : https://think2app.hanamarulab.com/

Download
IOS : https://goo.gl/6Gg3nm
Android : https://goo.gl/LhUQWT

คำพูดวิเศษของ “อาลาดิน” : เรามาฟังคำแนะนำจากอาลาดิน(คุณครูอันโด ริจิ) จากโรงเรียนกวดวิชา NOAH กัน

IMG_1501-copy-295x300

สิ่งสำคัญในการทำงาน คือ ไม่ใช่ทำงานในสิ่งที่เราชอบ แต่เป็นการทำงานในสิ่งที่เราถนัด และเป็นที่ยอมรับในที่ทำงาน การที่เราจะทำแบบนี้ได้ เราจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มี การทำงานคือการสร้างบางสิ่งหรือเรียกว่า “การผลิต” ในวัยเด็ก เราอาจจะทำได้แค่การใช้บางสิ่งหรือเรียกว่า “การบริโภค” แต่เมื่อไหร่ที่เราได้ทำอะไรเพื่อใครแล้วล่ะก็ นั่นแหละคือก้าวแรกที่จะนำไปสู่ “การผลิต”  (อันโด ริจิ)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *